วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

<ใช้ชีวิตอย่างไรให้มีความสุข>???

                                  
วิธีการในการใช้ชีวิตให้มีความสุข สำหรับคนที่อยากจะเปลี่ยนตัวเอง
1). อย่าทำลายความหวังใคร เพราะเขาอาจมีความหวังเหลืออยู่เท่านั้นก็ได้
2). เมื่อมีคนเล่าว่าตัวเขามีส่วนในเหตุการณ์สำคัญอะไรก็ตาม เราไม่ต้องคุยทับ ปล่อยให้เขาฟุ้งไปตามสบาย
3). รู้จักฟังให้ดี โอกาสทองบางทีมันก็มาถึงแบบแว่ว ๆ เท่านั้น
4). หยุดอ่านสถานที่ทางประวัติศาสตร์ซึ่งอยู่ริมทางเสียบ้าง
5). จะคิดการใด จะคิดการให้ใหญ่ ๆ เข้าไว้แต่เติมความสุขสนุกสนานลงไปด้วย
6 ). หัดทำสิ่งดี ๆ ให้กับผู้อื่นจนเป็นนิสัย โดยไม่จำเป็นต้องให้เขารับรู้
7). จำไว้ว่าข่าวทุกชนิด ล้วนถูกบิดเบือนมาแล้วทั้งนั้น
8). ใครจะวิจารณ์เราอย่างไรก็ช่าง ไม่ต้องเสียเวลาโต้ตอบ
9). ให้โอกาสผู้อื่นเป็นครั้งที่ 2
10). อย่าวิจารณ์นายจ้าง ถ้าทำงานกับเขาแล้วไม่มีความสุขก็ลาออกไป
11). ทำตัวให้สบายอย่าคิดมาก อะไร ๆ มันก็ไม่สำคัญอย่างที่คิดไว้ที่แรกซะทุกที
12). ใช้เวลาให้น้อยในการคิดว่า “ใครผิด” แต่ใช้เวลาให้มากในการคิดว่า อะไรคือสิ่งที่ถูก
13). เราไม่ได้ต่อสู้กับ “คนโหดร้าย” แต่เราสู้กับ “ความโหดร้าย”
14). คิดอะไรให้รอบคอบก่อนจะให้เพื่อนต้องมีภาระในการรักษาความลับ
15). เมื่อมีคนสวมกอดคุณ ด้วยความรักและความยินดี ให้เขาเป็นฝ่ายปล่อยก่อน
16). ยอมที่จะแพ้สงครามย่อย ๆ หากแพ้นั้นจะทำให้เราชนะสงครามใหญ่ ๆ
17). เป็นคนถ่อมตัวบ้าง
18). ไม่ว่าจะตกอยู่ในสถานการณ์เลวร้ายเพียงใด...สุขุมเยือกเย็นเข้าไว้
19). อย่าไปหวังเลยว่า ชีวิตนี้จะมีความยุติธรรมอยู่ตลอดเวลา
20). อย่าให้ปัญหาของเราทำให้คนอื่นเขาเบื่อหน่าย
21). อย่าพูดว่ามีเวลาไม่พอ เพราะเวลาที่คุณมีมันก็คือ 24 ชั่วโมงต่อวันเท่ากับคนอื่น ๆ
22). เป็นคนใจกล้าและเด็ดเดี่ยว เมื่อเหลียวกับไปดูอดีต เราจะเสียใจในสิ่งที่อยากทำแล้วไม่ดี มากกว่าเสียใจในสิ่งที่ทำไปแล้ว
23). ประเมินด้วยมาตรฐานของตัวเอง ไม่ใช่มาตรฐานของคนอื่น
24). จริงจังและเคี้ยวเข็นต่อตนเอง แต่อ่อนโยนและผ่อนปรนต่อผู้อื่น
25). ความคิดดีบางทีอาจมาจากบุคคลที่มีความคิดอยู่เพียงผู้เดียว แต่ไอเดียดี ๆ ใหม่ ๆ และยิ่งใหญ่จนสามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้หลายครั้งก็มาจากผู้อื่นได้มีส่วนออกความเห็นร่วมกับเราบ้าง
26). คงไว้ซึ่งความเป็นคนเปิดเผย อ่อนโยน และอยากรู้อยากเห็นแบบเด็ก ๆ บ้าง
27). ให้ความนับถือแก่ทุกคนที่ทำงานเพื่อเลี้ยงชีพ ไม่ว่างานที่เขาทำนั้นจะต่ำต้อยหรือเล็กเพียงใด
28). คำนึงการมีชีวิตให้ “กว้างขว้าง” มากกว่าการมีชีวิตที่ “ยืนยาว”
29). มีมารยาทและให้เกียรติกับคนที่สูงวัยกว่าเสมอ คนมองโลกในแง่ดี จะมีความสุข และจะก้าวผ่านช่วงต่างๆ ในชีวิตไปได้ อย่างไม่รู้สึกว่าเป็นเรื่องหนักหนาเกินกว่าจะรับมือไหว.....

ประวัติของแหวนแหวน......

                                                
ชื่อ   สิริภา สกุล สรีสวัสดิ์
ชื่อเล่น  วงแหวน
วัน/เดือน/ปีเกิด   28/พฤษภาคม/2535
ปัจจุบันศึกษาอยู่ที่   มหาวิทยาลัยบูรพา คณะพยาบาลศาสตร์ รหัสนิสิต 53010095
E-mail:  waen_pooh@hotmail.com
              waenpooh@gmail.com

รักของพ่อและแม่ รักแท้ และ รักยั่งยืนตลอดไป....

                                       
อันพ่อแม่มีพระคุณต่อเรา ช่วยฟูมฟักจนเราได้เติบใหญ่
         เราเป็นลูกทำตามอย่างตั้งใจ คอยห่วงใยช่วยเหลือและเกื้อกูล
  พ่อแม่ท่านรักเรากว่าชีวิต ท่าน เป็นมิตรกับเราไม่เสื่อมสูญ
     ยามเราทุกข์ท่านทุกข์ทวีคูณ เราเพิ่มพูนความสุขให้ท่านเอย

ลูกทุกคนคงเห็นชัดว่า ที่คุณพ่อคุณแม่ทำทุกอย่างให้แก่ลูกนั้น ก็ทำด้วยความรัก เราจึงควรรู้จักความรักของคุณพ่อคุณแม่ให้ดีสักหน่อย 
เริ่มแรก รู้จักกันไว้ก่อนว่า ความรักนั้น ถ้าแยกตามหลักธรรม ก็แบ่งง่าย ๆ ว่ามี ๒ แบบ
   ความรักแบบที่ ๑ คือ ความชอบใจอยากได้เขามาสนองความต้องการของเรา เพื่อให้ตัวเรามีความสุข ความชอบใจที่จะเอามาบำเรอความสุขของเรา ชอบใจคนนั้นสิ่งนั้นเพราะจะมาสนองความต้องการเป็นเครื่องบำรุงบำเรอเรา ทำให้เรามีความสุขได้ ความรักแบบนี้มีมากมายทั่วไป 
ความรัก ๒ แบบนี้ มีลักษณะต่างกัน และมีผลต่างกันด้วย อะไรจะตามมาจากความรักทั้ง ๒ แบบนี้ 

   ความรักแบบที่ ๒ คือ ความอยากให้เขามีความสุข ความต้องการให้คนอื่นมีความสุข หรือความปรารถนาให้คนอื่นอยู่ดีมีความสุข ความรักของพ่อแม่เป็นแบบที่ ๒ นี้ คือ อยากให้ลูกมีความสุข 

ความรัก ๒ แบบนี้ แทบจะตรงข้ามกันเลย 
    แบบที่ ๑ อยากได้เขามาบำเรอความสุขของเรา (จะหาความสุขจากเขา หรือเอาเขามาทำให้เราเป็นสุขแต่แบบที่ ๒ อยากให้เขาเป็นสุข (จะให้ความสุขแก่เขา หรือทำให้เขาเป็นสุข) 
    ความรักที่หนุ่มสาวมักพูดกัน คือแบบที่ ๑ แต่ในครอบครัว มีความรักอีกแบบหนึ่งให้เห็น คือ ความรักระหว่างพ่อแม่กับลูก โดยเฉพาะความรักของพ่อแม่ต่อลูก คือความอยากให้ลูกเป็นสุข 
ความรักชอบใจ อยากได้เขามาบำเรอความสุขของเรา ก็คือ ราคะ
ส่วนความรักที่อยากให้เขาเป็นสุข ท่านเรียกว่า เมตตา 

    ถ้าความรักแบบที่ ๑ ก็ต้องการได้ ต้องการเอาเพื่อตนเอง เมื่อทุกคนต่างคนต่างอยากได้ ความรักประเภทนี้ ก็จะนำมาซึ่งปัญหา คือ ความเห็นแก่ตัว และการเบียดเบียนแย่งชิงซึ่งกันและกัน 
    ส่วนความรักแบบที่ ๒ อยากให้ผู้อื่นเป็นสุข เมื่ออยากให้ผู้อื่นเป็นสุข ก็พยายามทำให้เขาเป็นสุข เหมือนพ่อแม่รักลูก ก็พยายามทำให้ลูกเป็นสุข และเมื่อทำให้ลูกเป็นสุขได้ ตัวเองก็เป็นสุขด้วย
   ความรักแบบที่หนึ่ง เป็นความต้องการที่จะหาความสุขให้ตนเอง พอเขามีความทุกข์ลำบากเดือดร้อน หรืออยู่ในสภาพที่ไม่สามารถสนองความต้องการของเราได้ เราก็เบื่อหน่าย รังเกียจ 
   แต่ความรักแบบที่สอง ต้องการให้เขามีความสุข พอเขามีความทุกข์เดือดร้อน เราก็สงสาร อยากจะช่วยปลดเปลื้องความทุกข์ ให้เขาพ้นจากความลำบากเดือดร้อนนั้น 
   ความรักแบบที่หนึ่งนั้น ต้องได้จึงจะเป็นสุข ซึ่งเป็นธรรมดาของปุถุชนทั่วไป ที่ว่า เมื่อเอาเมื่อได้ จึงมีความสุข แต่ถ้าต้องให้ต้องเสีย ก็เป็นทุกข์ 
   วิถีของปุถุชนนี้ จะทำให้ไม่สามารถพัฒนาในเรื่องคุณธรรม เพราะว่าถ้าการให้เป็นทุกข์เสียแล้ว คุณธรรมก็มาไม่ได้ มนุษย์จะต้องเบียดเบียนกัน แก้ปัญหาสังคมไม่ได้
   แต่ถ้าเมื่อไร เราสามารถมีความสุขจากการให้ เมื่อไรการให้กลายเป็นความสุข เมื่อนั้นปัญหาสังคมก็จะน้อยลงไป หรือแก้ไขได้ทันที เพราะมนุษย์จะเกื้อกูลกัน 
ตามปกติ การให้คือการสละหรือยอมเสียไป ซึ่งมักต้องฝืนใจ จึงเป็นความทุกข์ จึงมาสร้างความเปลี่ยนแปลงใหม่ ทำให้การให้กลายเป็นความสุข
   ความรักแบบที่สอง ที่ทำให้คนมีความสุขจากการให้ จึงเป็นความรักที่สร้างสรรค์และแก้ปัญหา 
   เมื่อมนุษย์มีความสุขจากการให้ จะเป็นความสุขทั้งสองฝ่าย สุขด้วยกัน คือ ผู้ให้ก็สุขเมื่อเห็นเขามีความสุข ส่วนผู้ได้รับก็มีความสุขจากการได้รับอยู่แล้ว สองฝ่ายสุขด้วยกัน จึงเป็นความสุขแบบประสาน 
   ความสุขแบบนี้ดีแก่ชีวิตของตนเองด้วย คือ ตนเองมีทางได้ความสุขเพิ่มขึ้น แล้วก็ดีต่อสังคม เพราะเป็นการเกื้อกูลกัน ช่วยให้เพื่อนมนุษย์มีความสุข ทำให้อยู่ร่วมกันด้วยดี 
   ความรักของพ่อแม่คือ อยากเห็นลูกมีความสุข และอยากทำให้ลูกเป็นสุข แล้วก็มีความสุขเมื่อเห็นลูกเป็นสุข 
   เมื่ออยากเห็นลูกมีความสุข พ่อแม่ก็พยายามทำทุกอย่างให้ลูกมีความสุข วิธีสำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้ลูกมีความสุข ก็คือการให้แก่ลูก เพราะฉะนั้น พ่อแม่ก็จะมีความสุขในการให้แก่ลูก เพราะการให้นั้นเป็นการทำให้ลูกมีความสุข 
   ในขณะที่คนทั่วไปต้องได้จึงจะมีความสุข แต่พ่อแม่ให้ลูกก็มีความสุข บางทีตัวเองต้องลำบากเดือดร้อน แต่พอเห็นลูกมีความสุข ก็มีความสุข ในทางตรงข้าม ถ้าเห็นลูกไม่สบายหรือตกทุกข์ลำบาก พ่อแม่ก็พลอยทุกข์ หาทางแก้ไข ไม่มีความรังเกียจ ไม่มีความเบื่อหน่าย แล้วยังทนทุกข์ทนลำบากเพื่อลูกได้ด้วย 
   รักของพ่อแม่นี้เป็นรักแท้ที่ยั่งยืน ลูกจะขึ้นสูง ลงต่ำ ดี ร้าย พ่อแม่ก็รัก ตัดลูกไม่ขาด ลูกจะไปไหนห่างไกล ยาวนานเท่าใด จะเกิดเหตุการณ์ผันแปรอย่างไร แม้แต่จะถูกคนทั้งโลกเกลียดชัง ไม่มีใครเอาด้วยแล้ว พ่อแม่ผู้ให้กำเนิด ก็ยังเป็นอ้อมอกสุดท้ายที่จะโอบกอดลูกไว้.